授業3:敬語 การใช้ภาษาสุภาพ
สวัสดีค่าา ห่างหายกันไปนาน แหะๆ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง敬語หรือภาษาสุภาพกันค่ะ คิดว่าเป็นหัวข้อที่เพื่อนๆคุ้นเคยกันแล้ว ซึ่งวันนี้เราจะมาสังเกตวิธีการใช้กันอย่างละเอียดขึ้นค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ (∩ˊ꒳ˋ∩)・*
ถ้าพูดถึงคำสุภาพในภาษาญี่ปุ่น ทุกคนคงจะนึกถึงประเภทของคำเหล่านี้เช่น 尊敬語 รูปยกย่อง หรือ 謙譲語 รูปถ่อมตน คำเหล่านี้มีอะไรกันบ้าง เรามาลองดูตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ
尊敬語:いらっしゃいます、召し上がります、お会いになります、お待ちになります
謙譲語:まいります、いただきます、お会いします、お待ちします
จากตัวอย่างเพื่อนๆสังเกตเห็นอะไรไหมคะ ( ﹡ˆoˆ﹡ )
เราจะเห็นได้ว่าทั้ง尊敬語และ謙譲語จะมีทั้งรูปที่คำกริยาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเช่น 食べます เมื่ออยู่ในรูปยกย่องเขียนว่า召し上がります และมีรูปที่เมื่อเติมお〜になる/お〜するก็จะเป็นรูปยกย่อง/ถ่อมตน เช่น 会いますเป็นお会いになります(รูปยกย่อง)
เราเรียกรูปคำสุภาพที่มีกฏในการเปลี่ยนรูปโดยการใส่お〜になる/お〜するว่า規則形และเรียกรูปคำสุภาพที่เปลี่ยนรูปโดยสิ้นเชิงว่า不規則形ค่ะ
เพื่อนๆรู้มั้ยคะว่านอกจากเราจะแยกชนิดคำสุภาพเป็น2รูปแบบแล้ว เรายังสามารถแยกวิธีการใช้คำสุภาพออกไปได้อีก5แบบด้วยกันค่ะ มีอะไรบ้างไปดูกันเลย (⁎˃ᴗ˂⁎)
尊敬形/基本形/謙譲形:3ประเภทนี้จะช่วยให้เรารู้ว่าผู้พูดยกย่องผู้กระทำหรือถ่อมตนเพื่อยกย่องผู้ที่ได้รับผลจากการกระทำของผู้พูดค่ะ
普通形/丁寧形:2ประเภทนี้จะทำให้เรารู้ว่าผู้ฟังเป็นใคร โดยสังเกตุได้จากการใช้หรือไม่ใช้รูปสุภาพยกย่องผู้ฟังค่ะ
เรามาลองดูตัวอย่างกันนะคะ (*ˊᗜˋ*)
AพูดกับBว่า「Cさんがお待ちになっています」ประโยคนี้เป็น尊敬丁寧形 ค่ะ โดยAใช้รูปお待ちになるเพื่อยกย่องCซึ่งเป็นบุคคลที่3ผู้กระทำกริยาที่ถูกกล่าวถึงและใช้になっていますเพื่อยกย่องBที่เป็นผู้ฟังค่ะ
ตัวอย่างอื่นๆเช่น
1.お書きになるよเป็น尊敬普通形 จากประโยคนี้เรายกย่องผู้กระทำกริยาและพูดรูปธรรมดากับผู้ฟัง ดังนั้นผู้กระทำกริยาอาจเป็นอาจารย์ส่วนผู้ฟังอาจเป็นเพื่อนก็ได้ค่ะ
2.わかる?เป็น基本普通形 จากประโยคนี้เราใช้รูปธรรมดากับผู้กระทำกริยาและผู้ฟัง ดังนั้นทั้งผู้กระทำกริยาและผู้ฟังอาจเป็นเพื่อนซึ่งอยู่ระดับเดียวกันกับผู้พูดก็ได้ค่ะ
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเราสามารถรู้ว่าผู้กระทำกริยาที่ถูกกล่าวถึงและผู้ฟังอยู่ระดับเดียวกันหรือสูงกว่าผู้พูดได้จากการเลือกใช้คำสุภาพชนิดต่างๆค่ะ
วันนี้ก็ขอปิดท้ายบทความนี้ด้วยเรื่องข้อควรระวังในการใช้ภาษาสุภาพนะคะ (๑˃̵ᴗ˂̵๑)
1.คำกริยารูปถ่อมตนที่มีรูป不規則形อยู่แล้วจะไม่เขียนด้วยรูป規則形
ตัวอย่างเช่นคำว่า知っていますมีรูป不規則形คือ存じていますอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะไม่เขียนคำว่า知っていますเป็นお知りしていますซึ่งเป็นรูป規則形
2.คำกริยาที่ไม่มีบุคคลที่2มาเกี่ยวข้องกับผลของการกระทำจะไม่ใช้รูปถ่อมตน
ตัวอย่างเช่นคำว่าお待ちになるสามารถใช้ได้เนื่องจากผู้กระทำกริยากำลังรอใครบางคน ใครบางคนคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของผู้กระทำกริยา แต่คำว่าお歩きするไม่สามารถใช้ได้ เพราะการเดินไม่มีบุคคลที่2มาเกี่ยวข้องกับผลของการกระทำ จึงไม่มีบุคคลที่ผู้พูดต้องใช้รูปถ่อมตนเพื่อยกย่อง
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆเข้าใจการใช้ภาษาสุภาพมากขึ้นนะคะ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน แล้วเจอกันใหม่นะคะ ⁽⁽ ◟(∗ ˊωˋ ∗)◞ ⁾⁾
ฮืออออ รู้สึกพลาดมากที่ไม่ได้ไปคาบอาทิตย์ก่อนนนน น่าจะได้ประโยชน์เยอะเลยยย
ตอบลบชอบการที่น้องยกตัวอย่างจัง อ่านทีเดียวแล้วเก็ตเลย!
ตอบลบยกตัวอย่างประกอบการอธิบายแล้วเข้าใจง่ายมากเลยอะ ชอบวิธีการอธิบายรู้เรื่องได้โดยไม่ต้องอาศัยตารางหรือรูปภาพอะไรเลย
ตอบลบตรงข้อควรระวังน่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะข้อที่ 2 เราต้องระวังให้มากขึ้นแล้ว
ตอบลบเราแอบบงงๆส่วนที่เป็ร 不測系 แต่อันนี้สรุปได้ดีเลย
ตอบลบ