สวัสดีค่ะ ทุกๆคน บางคนอาจสงสัยว่าทำไมโพสต์ที่แล้วเป็นคาบที่2 แต่วันนี้เป็นคาบที่4เลย พอดีว่าอาทิตย์ที่แล้วเราป่วยเลยไม่ได้ไปเรียนค่ะ (泣)Quizต้นคาบที่ถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนอาทิตย์ที่แล้วเลยตอบไม่ได้ซักข้อ แง แต่ไม่เป็นไร ค่อยอ่านทวนก็ได้เนอะ! ส่วนคาบApp Jap Ling วันนี้เราก็ได้เรียนอะไรที่น่าสนใจอีกแล้วล่ะค่ะ เนื้อหาวันนี้เหมาะกับคนที่สนใจอยากเรียนภาษาที่สองให้มีประสิทธิภาพด้วยนะคะ นอกจากนี้ยังเรียนเรื่องภาษาญี่ปุ่นที่กำกวมด้วยค่ะ
เอาล่ะ ถ้างั้นเราไปดูกันเลย~(*´꒳`*)
สอนภาษาที่สองแบบใดจึงได้ผล:การสอนแบบ input
วันนี้เราได้เรียนเกี่ยวกับเทคนิคการสอนภาษาที่สองที่ทำให้เรียนแล้วได้ผลดีค่ะ วิธีนี้เรียกว่าการinput เป็นแนวการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนฟังหรืออ่านมากๆ โดยinputที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ต้องเป็น input ที่เข้าใจได้และมีจำนวนมาก
เราจะใช้ความรู้ปัจจุบันของผู้เรียนเป็นที่ตั้งและ input ความรู้ที่ยากกว่าระดับความสามารถของผู้เรียนระดับหนึ่ง (เรียกว่า i+1) โดยเชื่อว่าการเรียนรู้จะได้ผลดีเมื่อผู้เรียนเข้าใจ input ในระดับที่เหมาะสม เพราะถ้ายากเกินไปผู้เรียนก็จะไม่เข้าใจและทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ และถ้าง่ายเกินไป ผู้เรียนก็จะเข้าใจทั้งหมดและทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้เช่นกันค่ะ
นอกจากนี้ยังมีแนวการสอนที่เน้นการinput เรียกว่า TPR หรือ total physical responseด้วย โดยเป็นการเน้นให้ผู้เรียนฟัง ดู และปฏิบัติ ซึ่งเชื่อว่าการขยับร่างกายไปด้วยจะทำให้เรียนรู้ได้มากกว่าการ inputแบบปกติค่ะ
เพื่อนๆอาจสงสัยว่าหมายถึงอะไร เราจะยกตัวอย่างจากคลิปในคาบนะคะ เป็นคลิปการสอนคำศัพท์ให้เด็กๆโดยใช้ร่างกายในการจำ เริ่มแรกครูจะโชว์ภาพการกระทำต่างๆก่อนแล้วพูดว่าแต่ละภาพหมายถึงอะไร ต่อมาก็จะสอนเด็กให้เด็กเลียนแบบท่าทางการกระทำพร้อมกับครู เช่น ท่ากอดตุ๊กตาหมี ท่าขับรถ พอทำซ้ำไปซ้ำมา ลำดับถัดมาก็ให้เด็กลองทำเองโดยที่ไม่มีตัวอย่าง โดยมีการสลับลำดับท่าทางด้วย ผลลัพธ์คือเด็กสามารถจำได้ว่าท่าทางแบบไหนหมายถึงการกระทำอะไรในระยะเวลาอันสั้นค่ะ
เพื่อนๆสามารถเข้าไปดูคลิปที่ว่าได้จากลิงค์นี้นะคะ https://www.youtube.com/watch?v=1Mk6RRf4kKs
あいまいな表現・誤解を招きやすい表現
เรื่องต่อมาที่เรียนคือเรื่องประโยคหรือคำที่ดูกำกวมค่ะ คล้ายๆกับเวลาเราเขียนภาษาไทยที่กำกวม ภาษาญี่ปุ่นเองถ้าไม่เขียนให้ดี อ่านแล้วดูกำกวมก็ทำให้ผู้อ่านอาจตีความต่างจากสิ่งที่เราต้องการสื่อได้เหมือนกันค่ะ
ประโยคตัวอย่างเช่น
1.父の写真 สามารถตีความได้ทั้ง 父が映っている写真、父が撮った写真และ父が持っている写真
2.小さい犬の飼い主 สามารถตีความได้ทั้ง小さい犬และ小さい飼い主
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าการใส่แค่คำช่วยのอย่างเดียวโดยที่ไม่อธิบายอะไรเพิ่มเติมก็ทำให้คำดูกำกวมได้นะคะ
หลังจากเรียนเรื่องการเขียนคำกำกวมในคาบก็ทำให้เรากลับมาย้อนคิดดูเหมือนกันว่าตัวเองมีเขียนภาษาญี่ปุ่นกำกวมไปบ้างรึป่าวเวลาเรียนวิชาการเขียนแต่งเรียงความ เพราะถ้าผู้อ่านรับสารที่ต้องการสื่อผิดไปก็แย่เลยสิคะเนี่ย (´-ω-`)
เนื้อหาในวันนี้ก็ประมาณนี้ค่ะ ครั้งหน้าเราจะมาดูการบ้านที่เคยพูดถึงไปเรื่องการเขียนบอกทางให้เข้าใจง่ายกันนะคะ สำหรับวันนี้ ขอลาไปก่อนค่า ไว้เจอกันใหม่นะคะ (*^▽^*)ノ
ยิ่งเรียน ยิ่งรู้จักนักภาษาศาสตร์และพวกทฤษฎีที่คิดกันก็รู้สึกอะว่า เขาคิดอะไรแบบนี้กันได้ยังไงเนาะ โดยเฉพาะเรื่อง インプット仮説 กับ i+1
ตอบลบあいまい表現 เจอในหลายรูปนะคะ 「N のN」 ที่หนูยกตัวอย่างก็เป็นรูปหนึ่งค่ะ หากเราว่าโครงสร้างนี้อาจจะทำให้เกิดความกำกวมได้ แค่นี้เวลาเราจะใช้ N のN เราก็จะระวังมากขึ้น ช่วยให้ผู้อ่านไม่สับสนได้ค่ะ
ตอบลบเรื่องคำกำกวมนี่สำคัญจริงๆ เพราะบางทีเราก็รีบอ่านจนอาจจะลืมย้อนคิดว่าคำๆ นั้นแท้จริงแล้วหมายความว่าอย่างไรกันแน่ เช่น 父の写真 ตอนแรกนึกว่าเป็นรูปของพ่อที่พ่อเป็นเจ้าของ ไม่นึกเลยว่าจะมีความหมายอื่นอีกตั้ง 2 ความหมาย
ตอบลบ