タスク1:手際の良い説明②

สวัสดีค่ะ ทุกๆคน (๑`·ᴗ·´๑) วันนี้เราจะมาดูเรื่อง手際の良い説明หรือการเขียนอธิบายให้เข้าใจง่ายกันต่อนะคะ ก่อนหน้านี้เราเคยบอกว่ามีการบ้านให้เขียนเรื่องการบอกทาง การบ้านที่ว่าคือให้เขียนวิธีเดินทางจากBTSช่องนนทรีไปยังตึกBRKของคณะอักษรศาสตร์จุฬาค่ะ โดยจะต้องเขียนให้คนที่ไม่เคยไปจุฬามาก่อนสามารถเข้าใจได้ง่ายด้วย 

ส่วนตัวแล้วเราเป็นคนที่ไม่ค่อยได้ขึ้นรถป๊อปไปคณะเท่าไหร่เลยไม่แน่ใจว่าต้องขึ้นรถสายไหน เราเลยตัดสินใจเขียนเป็นวิธีเดินเท้าไปจนถึงคณะแทนค่ะ ซึ่งรอบแรกเราเขียนออกมาแบบนี้


チュラ大文学部BRKビルへの行き方



まずはサナームキラーヘンチャート行きの電車に乗って、サイアム駅で降りてください。サイアム駅に着いたら、6番の出口から駅の2階を降りてください。降りる階段は、6番の出口を通して、セントラルワールド行きのスカイウォークに入る前に右側にあります。1階に着いたらセブンイレブンが見えます。次に、セブンイレブンがあるその通りを沿ってまっすぐ歩いてください。大学に着くまでの歩く時間は10分から15分ぐらいです。1番目の歩道橋に着くまでまっすぐ歩いて、歩道橋まで歩いてきたら、もう少し歩いて行くと右側に大学の入り口が見えます。大学に入ってきたら、右側にビルがあります。そのビルは「MCSビル」といって、「True Coffee」のカフェがあります。そのビルの隣のビルはBRKビルです。

พอให้เพื่อนในห้องอ่านแล้ว เราก็ได้ความเห็นข้อที่ควรแก้ไขประมาณนี้ค่ะ
1.อยากให้บอกระยะทางมากกว่าเวลาเดินเพราะเวลาเดินแต่ละคนไม่เท่ากัน
2.อยากให้บอกว่าตึกBRKมีลักษณะเด่นอะไร
3.ประโยค降りる階段ดูเข้าใจยาก อาจลงผิดทาง

เราเลยแก้ไขเป็นแบบนี้ค่ะ

チュラ大文学部BRKビルへの行き方

まずはサナームキラーヘンチャート行きの電車に乗って、サイアム駅で降りてください。サイアム駅に着いたら、6番の出口を通して、セントラルワールド行きのスカイウォークに入る前に右側にある階段で降りてください。1階に着いて少し歩いていくとセブンイレブンが見えます。次に、セブンイレブンがあるその通りに沿ってまっすぐ歩いてください。大学に着くまでの距離は850メートルぐらいです。1番目の歩道橋に着くまでまっすぐ歩いて、道橋まで歩いていったら、もう少し歩いていくと右側に大学の入り口が見えます。最後に、大学に入ってきたら、右側にビルがあります。そのビルは「MCSビル」といって、「True Coffee」のカフェがあります。そのビルの隣のビルはBRKビルです。BRKビルの特徴は、ビルの前に大きな階段があるところです。

เราทำให้ประโยคที่บอกทางลงบันไดกระชับขึ้น เปลี่ยนเวลาในการเดินเป็นระยะทางในการเดิน และใส่ลักษณะเด่นของตึกBRKซึ่งก็คือบันไดใหญ่ด้านหน้าตึกเข้าไปค่ะ

คราวนี้มาดูความเห็นจากอาจารย์หลังจากที่แก้แล้วกันค่ะ

1. まずはサナームキラーヘンチャート行きの電車に乗って ประโยคนี้เราโดนแก้ว่าชื่อสถานีสนามกีฬาแห่งชาติใส่เป็นภาษาอังกฤษจะเข้าใจง่ายกว่า ในตอนแรกเราก็ลังเลระหว่างใส่เป็นคำอ่านตามชื่อภาษาไทยกับภาษาอังกฤษค่ะ แต่พอเราเสิร์ชแผนภาพสถานีรถไฟฟ้าไทยสำหรับคนญี่ปุ่นในเว็บท่องเที่ยว เราเห็นว่าเขาใช้เป็นサナームキラーヘンチャート เราก็เลยเลือกใช้ตามค่ะ แต่ก็จริงว่าถ้าเป็นภาษาอังกฤษน่าจะเข้าใจง่ายกว่า เพราะคนญี่ปุ่นอาจไม่เคยเห็นคำคะตะคะนะทับศัพท์ภาษาไทยคำนี้ก็ได้

2.1階に着いて少し歩いていくと ประโยคนี้เราโดนทักเรื่องการใช้คำศัพท์ค่ะ สารภาพว่าคิดไม่ออกว่าควรแก้เป็นอะไรดี เพราะคุ้นชินกับคำว่าเดินลงชั้น1ในภาษาไทยเลยนึกคำอื่นไม่ออก สรุปว่าอาจารย์แก้ให้เป็น 地上に降りて ค่ะ ถ้าแปลตามตัวก็เหมือนลงไปยังพื้นดิน ซึ่งพอเป็นภาษาไทยปกติเราไม่ชินพูดแบบนี้เลยนึกคำนี้ไม่ออกเลยค่ะ (´;ω;`)

3.道橋まで歩いていったら ประโยคนี้โดนเรื่องคำที่เหมาะสมกว่าซึ่งนึกไม่ออกอีกแล้ว เพราะส่วนตัวคิดว่าใช้歩くก็เข้าใจง่ายดีแล้ว อาจารย์แก้ให้เป็น 道橋を通過してค่ะ เป็นศัพท์ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

ในส่วนอื่นก็มีผิดคำกริยาบ้างค่ะ เช่น入ってきたらเป็น入ったらได้เลย หรือประโยค6番の出口を通してต้องเป็น6番の出口を通ってค่ะ

และนี่คือเวอร์ชั่นที่แก้เสร็จสมบูรณ์ค่ะ 

まずはNational Stadium行きの電車に乗って、サイアム駅で降りてください。サイアム駅に着いたら、6番の出口を通って、セントラルワールド行きのスカイウォークに入る前に右側にある階段で降りてください。地上に降りて 少し歩いていくとセブンイレブンが見えます。次に、セブンイレブンがあるその通りに沿ってまっすぐ歩いてください。大学に着くまでの距離は850メートルぐらいです。1番目の歩道橋に着くまでまっすぐ歩いて、道橋を通過してもう少し歩いていくと右側に大学の入り口が見えます。最後に、大学に入ったら、右側にビルがあります。そのビルは「MCSビル」といって、「True Coffee」のカフェがあります。そのビルの隣のビルはBRKビルです。BRKビルの特徴は、ビルの前に大きな階段があるところです。

เพื่อนๆคิดว่าอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้นกว่าตอนแรกไหมคะ (*´︶`*)

เรื่องการเขียนอธิบายให้เข้าใจง่ายในวันนี้ก็จบลงเพียงเท่านี้ค่ะ วันนี้ก็ขอลาไปก่อน แล้วเจอกันใหม่นะคะ (。>ω<)ノ


ความคิดเห็น

  1. ทำไมเป็น 入ってきたら ไม่ได้อ่ะ เพราะมันเหมือนเราเขียนตอนเราอยู่ที่มหาลัยอยู่งี้เหรอ

    ตอบลบ
  2. สิ่งที่น่าสนใจคือทำไมใช้ 入ってきたらแล้วแปลกใช่ไหมคะ อย่างที่ CanTo เขียนถามมา หากคนอธิบายเขียนจากมุมตนเองว่า(ตนเอง)อยู่ที่มหาวิทยาลัย(เสมอ)ก็อาจจะใช้ได้ แต่ในกรณีนี้เป็นการบอกทางทั่วๆไป ซึ่งคำอธิบายบอกทางของเราอาจจะอยู่ในหน้าเว็บไซต์หรือที่ไหนก็ได้ (แปลว่าผู้เขียนไม่จำเป็นต้องอยู่ที่มหาวิทยาลัย) ในกรณีนั้นในภาษาญี่ปุ่นไม่ต้องใช้〜きたら จะดีกว่า แต่ในภาษาไทย กริยาหลายตัวที่แสดงทิศทาง ต้องใช้คู่กับ ..ไป...มา เสมอ เช่น เมื่อเข้ามา.... เดินไป.... โดยไม่เกี่ยวกับว่าผู้เขียนจะอยู่ที่จุดนั้นหรือไม่ ดังนั้นในภาษาไทยแม้เป็นคำอธิบายบอกทางในเว็บไซต์ เราก็สามารถจะเขียนได้ว่า เมื่อเข้ามาใน....แล้ว ให้เดินไปอีก.... ได้ เพราะเราจะใช้กริยา เข้า+มา ・เดิน+ไปหรือมา เสมอ กริยาบอกทิศทางในภาษาไทย ใช้เดี่ยวๆลำบาก และนี่คือความแตกต่างของสองภาษาค่ะ (เดี๋ยวครูอธิบายเรื่องนี้ในห้องเรียนอีกครั้งคราวหน้านะคะ)

    ตอบลบ
  3. SBRS!
    รู้สึกว่าเป็นการเขียนที่กระชับดีมากเลย อยากเขียนสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ แบบนี้บ้างจัง
    แอบสงสัยนิดหน่อยว่าทำไมมิ้วใส่วงเล็บตรงชื่อตึกมหาจักรฯ กับ ทรูคอฟฟี่ แต่ไม่ใส่วงเล็บให้ชื่อตึกบรมฯ 5555

    รอบแก้ใหม่หมูดุดว่าอธิบายการแก้ได้ละเอียดดีนะ ถ้าไฮไลท์หรือเปลี่ยนสีตัวอักษรตัวอักษรตรงจุดที่แก้แล้วด้วยก็จะดีนะ ผู้อ่านจะได้ตามทันว่าแก้ตรงไหนไป และแก้อย่างไรบ้าง

    ส่วนชื่อแลนด์มาร์กต่าง ๆ ของหมูดุดจะเขียนประมาณว่า ~のデパート ~のコンビニ ประมาณนี้น่ะ แต่พอเห็นของมิ้วแล้วก็คิดได้ว่าบางอย่างถ้าไม่ต้องเขียนก็เข้าใจง่ายดีเหมือนกัน ความกระชับอิสเดอะเบสุโตะ!

    หมูดุดจะรอติดตามบล็อกหน้าน้าาาาา(*^ワ^*)

    ตอบลบ
  4. เราชอบการบอกว่าให้ออกไปทางที่จะเข้าสกายวอล์คเพื่อไปเซนเวิล์ดนะ แต่อันนี้อาจจะติดว่าถ้าคนญี่ปุ่นมาไทยครั้งแรกงี้เขาจะพอเข้าใจไหมว่าอันไหนคือทางไป CTW แต่อันที่เข้าใจง่ายมากค่ะ เดินไปจนถึงสะพานลอย ตรงนี้เราเพิ่งมาสังเกตว่า สะพานลอยหน้าอักษรนี่สะพานลอยแรกเลยถ้าเดินจากสยาม

    ตอบลบ
  5. การบอกทางอธิบายได้กระชับ เข้าใจง่ายดี เช่น การบอกทางออก ระยะทาง และที่สำคัญคือการบอกลักษณะเด่นของสถานที่ที่เป็นจุุดหมายปลายทาง ในที่นี้ตึก BRK มีบันไดอันใหญ่อยู่ จึงคิดได้ว่าคนที่เข้ามาจากประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยแค่มองไปทางขวามือก็เห็นตึกดังกล่าวแล้วนั่นเอง

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

スペシャル:audiolingual method กับ Minna no Nihongo

授業3:敬語 การใช้ภาษาสุภาพ

APP JP LING วิชานี้เราต้องรอด!